Home Executive Talk การบริหารคนด้วยใจและจิตวิทยา

การบริหารคนด้วยใจและจิตวิทยา

This article is in

0 4368

คุยกับแขกในวันนี้เป็นการคุยแบบไม่ได้ตั้งใจจะสัมภาษณ์เท่าไหร่ เพราะที่จริงเป็นการคุยเรื่องงาน แต่บังเอิญสิ่งที่ได้รับฟังมีคุณค่า และน่าชื่นชม เลยอดไม่ได้ที่จะต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง เหมือนวัตถุประสงค์ของการทำเว็บไซด์นี้คือเพื่อแบ่งปันความรู้ ความคิดดี ๆ และประสบการณ์อันมีคุณค่า ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม

แขกวันนี้อาจจะแปลกไปสักหน่อย ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่เอ่ยนามนะคะ หรือแขกนิรนามนั่นเองค่ะ และสิ่งที่จะนำมาฝากนั้นมีคุณค่าอย่างไรต้องไปติดตามกันค่ะ  เจ้าของกิจการทั้งหลายโดยเฉพาะ SME ทั้งหลายห้ามพลาดเด็ดขาด เรามาดูกันดีกว่า การบริหารคนด้วยใจและจิตวิทยา ตามแนวของแขกท่านนี้เป็นอย่างไร

วันนี้เราคุยกันถึงเรื่องวิธีการบริหารคน ทำอย่างไรให้ผูกใจพนักงานให้ทำงานได้ดี อยู่ด้วยกันนาน ๆ ลด turn over หรือการเปลี่ยนงานของพนักงาน พอได้ฟังแล้วตกใจ!  ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่อะไรค่ะ “หนึ่งปีมีคนเปลี่ยนประมาณหนึ่งคน” โอ้โห ฝ่ายบุคคลนี่นอนตีพุงเลยนะเนี่ย (แอบแซว)  ท่านเจ้าของกิจการทั้งหลายฟังแล้วใครทำได้ยกมือขึ้น? (ท่าทางจะหายากสักหน่อย)

แค่ฟังสถิติก็รู้แล้วว่าวิธีการที่ใช้อยู่ไม่ธรรมดาแน่ คือปกติคนเราหากมีใจผูกพันก็จะไม่อยากโยกย้ายไปไหน ปากท้องอิ่ม สบายใจ ใครก็อยากอยู่นาน ๆ ใช่มั้ยล่ะคะ?

สิ่งที่ให้มากกว่าที่อื่นสำหรับที่นี่คืออะไร?

นอกจากจากสวัสดิการพื้นฐานที่บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมาย มีวิธีการ Build team ที่อาจจะแตกต่างจากที่อื่นไปบ้าง แต่ก็ถือว่าดีเหมือนกัน เพราะที่จริงวิธีการสำคัญน้อยกว่าผลลัพธ์ (อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ ตราบใดที่วิธีการนั้นเป็นสิ่งที่ดี)

กิจกรรมเพื่อการบริหารคนด้วยใจและจิตวิทยาที่ทางบริษัทจัดให้กับพนักงานเพิ่มขึ้นก็อาทิ เช่น การจัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในบริษัท ฟังแล้วดูเท่ห์ไม่น้อยนะ เพราะนอกจากของรางวัลที่ไว้ล่อตาล่อใจพนักงานแล้ว การทำงานเป็นทีมช่วยประสานสัมพันธ์ให้พนักงานร่วมมือร่วมใจกัน เพราะรู้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วย Teamwork

(Image owner by ffaalumni >https://www.flickr.com/photos/ffaalumni/9045254666)

(Image owner by ffaalumni >https://www.flickr.com/photos/ffaalumni/9045254666)

ยังมีอะไรอีก?

วาระต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวและครัวครอบก็ตามไปดูแล อย่างเช่นแต่งงาน และอีกหลาย ๆ กิจกรรมที่เอื้อเฟื้อไปถึงบุคคลในครอบครัว ข้อนี้ดีมาก เพราะครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดแต่ต้องสร้างให้แข็งแรงที่สุด เมื่อหน่วยที่เล็กที่สุดแข็งแรง หน่วยที่ใหญ่ขึ้นคือที่ทำงานก็แข็งแรงตามมาตามลำดับ นอกจากนี้ยังไม่รวมกิจกรรมปลีกย่อยที่สนับสนุนเป็นเงินสวัสดิการ  วิธีการเหล่านี้ช่วยส่งเสริมการบริหารคนด้วยใจและจิตวิทยาเป็นอย่างดี

การสนับสนุและเพิ่มเติมความรู้พื้นฐานของพนักงาน เช่น ภาษาอังกฤษ หรือเรียนเพิ่มเติมเทคนิคพิเศษที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ในการทำงาน การเอาใจใส่ใจดูแลพนักงานขนาดนี้ หลังจากฟังแล้วในฐานะที่เราอยู่องค์ใหญ่ รู้ว่าการให้ขนาดนี้ใจต้องมาก่อน เพราะกว่าจะได้ใจต้องใช้เงินมิใช่น้อย แต่ด้วยวิธีการบริหารคนด้วยใจและจิตวิทยา ตามแนวทางของแขกท่านนี้ส่งผลดีในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความเสถียรขององค์กรนี่ชัดเจนมาก พอปัจจัยพื้นฐานเสถียรปัญหาเรื่องงาน Claim หรือปัญหาอื่นจะน้อย เพราะพนักงานถูกพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง

ท่านเจ้าของกิจการทั้งหลายอ่านกรณีนี้อยากให้กลับไปพิจารณาวิธีการที่ตนเองใช้อยู่ว่า เป็นแนวใคร แล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร ไม่ได้บอกว่าต้องลอกเลียนแบบใคร คุณต้องเป็นแบบที่คุณเป็น แต่ลองชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย ใช้หลาย ๆ องค์ประกอบที่วัดผลได้ชัดเจน อย่าใช้แค่ความรู้สึกเพียงด้านเดียว เพราะเป็นที่ทราบกันว่า ธุรกิจ Machine part ที่เป็นงาน made to order ความยากของธุรกิจนี้คือ

  • Made to order ดังนั้นแทบจะไม่มีงานซ้ำกัน เป็นการทำงานครั้งต่อครั้ง ยกเว้นบางแห่งที่รับงาน mass production
  • Forecast ทำไม่ได้ เพราะงานของแต่ละลูกค้าเปลี่ยนทุกครั้ง อาจจะมีซ้ำบ้าง แต่ความถี่ต่ำ
  • คู่แข่งขันสูง สำหรับงานพื้นฐาน แต่คู่แข่งอาจจะน้อยลงสำหรับงาน high precision
  • ปัจจุบันยังไม่มีโปรมแกรม ERP/MRP ที่พัฒนาให้เหมาะสมกับงานลักษณะนี้ ทำให้การควบคุมเรื่องระยะเวลาในการผลิต หรือ lead time ที่จะส่งลูกค้าค่อนข้างยากพอสมควร อาศัย manual และประสบการณ์ ซึ่งการ implement ระบบนี้ค่อนข้างยาก >> อ่านต่อเรื่องการเลือกซื้อ software
  • คู่แข่งที่ใช้ Basic machine เกิดขึ้นง่ายมาก แต่เปิดห้องแถวก็ทำได้แล้ว ถ้าไม่ยกระดับตัวเองขึ้นก็แข่งขันในตลาดค่อนข้างยาก โดยเฉพาะตลาดรถยนต์
  • หากเจ้าของไม่บริหารงานเองมักไม่ค่ยประสบความสำเร็จ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ตั้งแต่ลักษณะงานไม่ซ้ำแบบกัน ทำให้ระยะเวลาในการทำงานไม่แน่นอน การวางแผนการผลิต และสั่งซื้อวัตถุดิบ
  • นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจลักษณะนี้ จึงทำให้ธุรกิจประเภทนี้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่ม SME เท่านั้น เพราะมีข้อจำกัดหลายประการ

ท่านใดเป็นผู้ประกอบการอ่านแล้วชั่งใจกันเองนะคะว่าจะเลือกถนนสายเดิม หรือถนนสายใหม่ ว่าแต่ว่าเราจะนิยามของเรื่องนี้ว่าอย่างไรดี

“ให้ไปทั้งใจ ได้มาทั้งคน” ?

ชอบไม่อย่างไร vote กันมาแล้วกันนะคะ หรือใครมีความเห็น และวิธีการอื่นใดที่เจ๋ง ๆ อย่าลืมมาแบ่งปันกันค่ะ

NO COMMENTS

Leave a Reply