การผลิตแบบ Made to order หมายถึงอะไร
Made to order เป็นหนึ่งในรูปแบบของการรับจ้างผลิตงานของภาคอุตสาหกรรม วันนี้จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ หมายถึงอะไร และทำอย่างไรกันค่ะ
ในภาคอุตสาหกรรมเราอาจจะแบ่งการจ้างทำออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ด้วยกันนะคะ
1. การรับจ้างผลิตแบบรายครั้ง หรือ Made to order
2. การรับจ้างผลิตในปริมาณมากหรือ Mass production
วันนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ Made to order ก่อนแล้วกันนะคะ การผลิตแบบไหนบ้างที่เข้าลักษณะ Made to order ยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้พอเข้าใจดังนี้ค่ะ
- เครื่่องจักร หรืออุปกรณ์ที่ต้องการผลิตขึ้นมาใช้เเป็นการเฉพาะกิจสำหรับ Line การผลิต หรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดการทำงานก็เป็นได้ค่ะ ลักษณะนี้มักเป็นของฝ่ายผลิต หรือซ่อมบำรุง คือสั่งงานเฉพาะ หรือสั่ง spare part มาเพื่อเปลี่ยนแทนเครื่องที่ไม่มี drawing สำหรับ spare part จึงเป็นการ copy งานเฉพาะหน้านั่นเองค่ะ
- สิ่งที่ลูกค้าสั่งซื้ออาจจะนำไปใช้กับฝ่ายผลิต ซ่อมบำรุง หรือแผนกอื่น ๆ ก็ได้ ไม่ได้จำกัดวงอยู่ที่ฝ่ายผลิตหรือซ่อมบำรุงเท่านั้น เช่น ฝ่ายบุคคลอยากได้ตู้ล็อคเกอร์แบบพิเศษที่สั่งทำเฉพาะของตนเองเท่านั้น สั่งทำขึ้นมาใหม่ตามแบบที่ตนเองกำหนด
- ความถี่ในการสั่งทำ นาน ๆ ครั้ง หรือสั่งครั้งเดียวแล้วจบเลย แก้ปัญหาเฉพาะกรณีแล้วจบไป
- การจ้างผลิตแบบรายครั้งโดยธรรมชาติราคาต่อชิ้นจะสูงกว่าผลิตในปริมาณมาก เนื่องจากผู้ขายมักจะต้องซื้อวัตถุดิบเพื่่อใช้งานเดียว และอุปกรณ์บางอย่างไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หรือจะต้องซื้อด้วยปริมาณขั้นต่ำ ทำให้ค่าเฉลี่ยของต้นทุนจะสูงกว่านั่นเองค่ะ
- การสั่งงานเฉพาะกิจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะต้องใช้ความระมัดระวังในการทำความเข้าใจ scope ความต้องการของลูกค้า อนุมัติแบบให้ชัดเจนก่อนเริ่มลงมือทำ หรือได้รับอนุมัติใบสั่งซื้อ/งบประมาณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะการสั่งทำครั้งเดียว หากทำผิดวัตถุประสงค์แล้วใช้งานไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ขายเก็บเงินไม่ได้ หรือเก็บได้ช้า ผู้ซื้อไม่รับสินค้า คืนสินค้า หรือบ่ายเบี่ยงที่จะจ่าย ดังนั้นหัวใจคือการอนุมัติแบบและออกใบสั่งซื้อให้เรียบร้อยนั่นเองค่ะ เพื่อเป็นการ safe แบบแพ็คคู่ ไม่ต้องเจ็บตัวหมู่นั่นเองค่ะ กรณีธรรมดา ๆ แบบนี้ เจ็บกันมามากต่อมากแล้ว ทำกันแบบไว้ใจ คุยอะไรง่าย ๆ พอเรื่องจบ ไม่ง่ายที่จบ รบกันไม่เลิกเลยทีเดียวล่ะค่ะ เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ควรละเลยที่นำมาฝากกันวันนี้ค่ะ