การเลือกเครื่อง CNC มือสอง (CNC Used machine)
CNC Used machine หรือที่รู้จักกันว่าเครื่อง CNC มือสองนั้นในวงการมีวิธีการเลือกซื้อกันอย่างไร? ต้องออกตัวก่อนนะคะว่า มีผู้รู้เล่าและอธิบายให้ฟัง พอจะสรุปออกเป็นประเด็นหลัก ๆ ให้เพื่อนนักอุตสาหกรรมได้ดังนี้ค่ะ
การเลือกเครื่อง CNC มือสอง (CNC Used machine)
ข้อแรกคือ อายุเครื่อง ว่าผลิตปีไหน ควรดูจาก name plate เพื่อจะดูว่าใช้งานมาแล้วกี่ปี แล้วสภาพกับอายุสอดคล้องกันหรือไม่ คือสภาพเมื่อเทียบกับอายุจะช่วยบอกสภาพการใช้งาน คล้ายเราดูไมล์รถมือสอง ลักษณะคล้ายกันค่ะ หากปีเก่า แต่สภาพดีก็เป็นไปได้ว่าใช้งานไม่หนักมาก แต่หากสภาพโทรมก็อาจจะผ่านการใช้งานมาหนัก ก็ให้ไปพิจารณาข้ออื่น ๆ ประกอบด้วย
ข้อที่สอง Control ยี่ห้อที่นิยมที่สุดน่าจะเป็น Fanuc และอีกยี่ห้อคือ Mitsubishi ข้อสังเกตคือควรจะต้องดู model ด้วยว่าเก่าหรือใหม่
ถามว่าสำคัญอย่างไร ?
สำหรับการ การเลือกเครื่อง CNC มือสอง (CNC Used machine) สำคัญไม่น้อยเพราะมีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งาน และต้องคิดเรื่อง spare part เพราะถ้ารุ่นเก่าเกินไปอาจจะหา spare part ยาก ซึ่งจะมีผลต่อการ maintenance ได้ค่ะ และอีกประการต้องมองถึงเรื่องความสามารถในการซ่อมของทีมภายในว่าเคยใช้รุ่นพวกนี้หรือเปล่า หรือจะต้องพึ่งช่างภายนอกเท่านั้น ที่บอกเตือนประเด็นพวกนี้ เพราะทุกอย่างคือต้นทุนทั้งสิ้น คิดไม่ดี มิสิทธิจ่ายแพงระยะยาวค่ะ
ข้อสาม ประสิทธิภาพของเครื่อง ข้อนี้ยากที่สุด เพราะอาศัยประสบการณ์ของคนที่พิจารณาค่ะ จุดที่ต้องดู เช่น ชุด Mechanic ที่จะต้องเคลื่อนที่บ่อย มีรอยสึกหรือกาทำงานเสถียรขนาดไหน ข้อนี้ประสบการณ์ล้วน ๆ ยากหน่อย แต่ก็ละเลยไม่ได้
ข้อที่สี่ Option ต่าง ๆ ว่ายังอยู่ครบหรือควรจะหรือไม่ เช่น ระบบน้ำมัน อุปกรณ์ควรจะมี แล้วถูกถอดออกก่อนเสนอขายหรือเปล่า หรือตอนไปดูบอกว่ามี แต่พอส่งของไม่มี option เหล่านี้สำคัญนะคะ เพราะบางรายเจอย้อมแมว ไปดูเครื่องกับขนเครื่องบางส่วนถูกถอดออกไป ถ้าไม่ทันสังเกตอาจจะเสียเปรียบได้ ต้องทำ check list ให้ดี ๆ ค่ะ
ข้อที่ห้า การดูสีของตัวเครื่อง ข้อนี้อาจจะเป็นองค์ประกอบย่อย คล้าย ๆ กับการดูสภาพ หลัก ๆ คงต้องใช้ประสบการณ์เช่นกันค่ะ แต่ไม่ยากเกินไปที่จะสังเกตว่าว่าเป้นการทำขึ้นมาใหม่เพื่อแค่ให้เครื่องดูใหม่หรือเปล่า
นอกจากนี้เทคนิค การเลือกเครื่อง CNC มือสอง (CNC Used machine) คือ หากที่ไหนยอมให้ทดลอง หรือ trial ก่อนการซื้อจริงก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างยากพอสมควร เพราะลักษณะชิ้นงานต่างกัน มักจะต้องมีการ modify jig หรืออุปกรณ์ประกอบในการจับชิ้นงานก่อนจึงจะสามารถทดลองกับ part ที่จะผลิตจริงได้ ดังนั้นข้อนี้ในทางปฏิบัติจึงแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริง ยกเว้นดูการ operation งานปัจจุบันเท่านั้นเองค่ะ แต่หากสามารถทำได้ก็จะดีมาก เพื่อจะได้สามารถเช็คค่า tolerance ที่ผู้ซื้อคาดหวังได้ เพราะหากเครื่องผ่านการใช้งานมานานความคลาดเคลื่อนอาจจะมีสูงก็เป็นได้
นอกจากนี้ความน่าเชื่อถือของผู้จำหน่ายก็เป็นอีกประเด็นที่ไม่ควรละเลย เพราะหากผู้จำหน่ายได้ตรวจสอบสภาพเบื้องต้นก่อนจำหน่ายให้แก่ลูกค้า แนะนำสินค้าให้เหมาะสมกับลักษณะงานของลูกค้า หรือไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ over spec เพื่อช่วยลูกค้าประหยัดงบ สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นปัจจัยเสริมแต่ก็ช่วยให้เราได้ซื้อสินค้าแล้วเกิดประโยชน์สูงสุด
นี่เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเท่านั้นนะคะ หากผู้รู้ท่านได้มีข้อติชมแนะนำ หรือจะแบ่งปันให้เพื่อนๆ เพิ่มเติมยินดีอย่างยิ่งนะคะ เพื่อเพื่อน ๆ นักอุตสาหกรรมของเราจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอย่างค่ะ