Home Incoterm ข้อแตกต่างระหว่าง Incoterm 2000 และ Incoterm 2010

ข้อแตกต่างระหว่าง Incoterm 2000 และ Incoterm 2010

This article is in

0 60600
Incoterm

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ หลังจากที่ Incoterm 2010 ออกมาใหม่ เชื่อว่ายังมีหลาย ๆ คนไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง ดังนั้นวันนี้เรามาดู ข้อแตกต่างระหว่าง Incoterm 2000 และ Incoterm 2010  กันดีกว่านะคะ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันตั้งแต่พื้นฐานก่อนว่า Incoterm คืออะไร และใครมีบทบาท หน้าที่ อย่างไรกันบ้าง   เงื่อนไขการขนส่งระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า Incoterm (International Commercial Terms) เงื่อนไขนี้กำหนดขึ้นโดย สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce) เพื่อสร้างกติกาสากลให้คู่ค้าทั่วโลกได้เข้าใจเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ซื้อ และผู้ขาย ภาระค่าใช้จ่าย และการประกันภัย

 ข้อแตกต่างระหว่าง Incoterm 2000 และ Incoterm 2010?

     
Incoterm 2000Incoterm 2010
EXWEx worksEXWEx works
FCAFree CarrierFCAFree Carrier
FASFree Alongside ShipFASFree Alongside Ship
FOBFree On BoardFOBFree On Board
CPTCarriage Paid toCPTCarriage Paid to
CFRCost and FreightCFRCost and Freight
CIFCost, Insureance and FreightCIFCost, Insureance and Freight
CIPCarriage and Insurace paid toCIPCarriage and Insurace paid to
DEQ Delivered Ex QuayDATDelivered Ex Quay
DAFDelivered At FrontierDAPDelivered At Place
DESDelivery Ex Ship
DDUDelivered Duty Unpaid
DDPDelivered Duty PaidDDPDelivered Duty Paid

ถ้าดูจากตารางจะสังเกตว่า term นั้นแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้ หมวด E, C, D และ F  รวมทั้งหมดเป็น 13 term  ส่วนหมวดที่มีการเปลี่ยนคือหมวด D เนื่องจากมี 3 term ที่เงื่อนไขใกล้เคียงกันมาก ICC จึงได้กำหนดให้เปลี่ยนดังข้อสรุปดังนี้
DEQ  เปบี่ยนป็น DAT
DAF, DES, DDU เปลี่ยนเป็น DAP 

Incoterm 2010 จึงลดเหลือเพียง 11 เดิม จากเดิม 13  term
เห็นข้อสรุปแบบนี้แล้วก็ไม่ยากเลยที่จะทำความเข้าใจในตารางต่อไปกันเลยค่ะ

บทบาทหน้าที่ของผู้ซื้อ และผู้ขาย จัดแบ่งความรับผิดชอบกันอย่างไร

             
Incoterm 2000Incoterm 2010ค่าพิธีการศุลกากรขาออกค่าขนส่งถึงท่าเรือขาออกค่าขนส่งสินค้าลงจากรถบรรทุกค่าขนสินค้าขึ้นเรือบรรทุกสินค้าค่าขนส่งทางทะเลหรือทางอากาศค่าประกันภัยค่าขนสินค้าลงจากเรือบรรทุกสินค้าค่าขนสินค้าขึ้นรถบรรทุกค่าขนส่งสินค้าไปยังปลายทางค่าพิธีการศุลกากรขาเข้าภาษีนำเข้า
EXWEXWผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
FCAFCAผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
FASFASผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
FOBFOBผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
CPTCPTผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
CFRCFRผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
CIFCIFผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
CIPCIPผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้า/ผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้า/ผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
DEQ DATผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
DAFDAPผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ซื้อสินค้าผู้ซื้อสินค้า
DES
DDU
DDPDDPผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้าผู้ขายสินค้า

 

Fast speed service

 

การส่งขนส่งระหว่างประเทศนั้นไม่ว่าจะเป็นทางเรือหรือทางอากาศ หรือที่เราเรียกว่ากันทางแอร์นั้นมักจะอยู่ในอารมณ์นี้กันเลยล่ะค่ะ เพราะมีหลายปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

และจากตารางข้างต้น ค่าใช้จ่ายโดยสรุปมีดังนี้คือ

  • ค่าขนส่งถึงท่าเรือขาออก
  • ค่าขนส่งสินค้าลงจากรถบรรทุก
  • ค่าขนสินค้าขึ้นเรือบรรทุกสินค้า
  • ค่าขนส่งทางทะเลหรือทางอากาศ
  • ค่าประกันภัย
  • ค่าขนสินค้าลงจากเรือบรรทุกสินค้า
  • ค่าขนสินค้าขึ้นรถบรรทุก
  • ค่าขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง
  • ค่าพิธีการศุลกากรขาเข้า
  • ภาษีนำเข้า

น่าจะพอมองภาพออกกันแล้วนะคะว่า ใครต้องทำอะไรกันบ้าง สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ การประภันภัยเพื่อลดภาระอันอาจเกิดจากความเสี่ยงในระหว่างการขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้าแต่ละขั้นตอน  เนื่องจากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีปริมาณมาก ระยะทางไกล และพนักงานต้องทำงานด้วยความเร่งรีบ

ดังนั้น การประภันภัยจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดภาระให้คู่ค้าหากเกิดภัยต่าง ๆ เช่น เกิดพายุให้เรือประสบปัญหาในการเดินเรือ หรือขนส่งล่าช้า  สินค้าเสียหายอันเนื่องจากการ load หรือ unload จากรถฟอรคลิฟท์บ้าง รถบรรถทุกขาดความรอบคอบในการจัดวางสินค้า หรือปกปิดสินค้าให้รัดกุมพอ ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้นได้เสมอ และในแต่ละ term ยังจะแยกย่อยและแตกต่างกันเล็กน้อยในขอบเขตความรับผิดชอบออกไปรายละเอียดอีกด้วยค่ะ

คงจะพอเข้าใจกันมากขึ้นแล้วใช่มั้ยล่ะค่ะ สำหรับ ข้อแตกต่างระหว่าง Incoterm 2000 และ Incoterm 2010  

แต่หากยังมีปัญหาคาใจก็อย่าลืมติชม แบ่งปัน ถามคำถาม เพื่อร่วมแสวงหาความรู้ด้วยกันนะคะ หรือลองอ่านบทความ  Incoterm คืออะไร เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นได้นะคะ

ความรู้ ย่อมเกิดจากความใฝ่รู้

และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

เมื่อรู้แล้วก็อย่าลืมแบ่งปัน

เพราะทุกครั้งที่แบ่งปัน

ผู้ให้ก็มักจะได้ทักษะใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเสมอ

เครดิต  http://en.wikipedia.org/wiki/Incoterms

 

สนใจเข้าร่วม free workshop ดูรายละเอียดได้จาก link นี้นะคะ

NO COMMENTS

Leave a Reply