Home Incoterm ข้อแนะนำในการเลือก Incoterm Exwork

ข้อแนะนำในการเลือก Incoterm Exwork

This article is in

0 62727

ลังจากที่ได้อ่านภาพใหญ่เกี่ยวกับ Incoterm กันแล้ว ตอนนี้เราจะเริ่มลงภาพย่อย ๆ กันทีละIncoterm กันแล้วล่ะคะ จะได้มองเห็นภาพชัดขึ้น เพราะภาพใหญ่เป็นเหมือนวิชาการ บางครั้งก็ยากเกินไปที่จะเข้าใจ หรือถ้าใครที่ไม่เคยปฏิบัติเลยนี่เลิกคิดเลย เพราะนึกไม่ออกแน่ ๆ ที่จริงเราเองก็ไม่เรียนด้าน logistic มาเลยนะคะ แต่เป็นความบังเอิญที่จะต้องทำ activities เกี่ยวกับเรื่องการลดต้นทุน และในส่วนขาเข้าเป็นต้นทุนที่สำคัญ ประกอบกับวัตถุดิบที่ซื้อมีนำเข้าอยู่หลายรายการทีเดียว รวมไปถึงเครื่องจักร ทำให้ได้มีโอกาสเข้ามาดูเรื่องนี้แบบเต็ม ๆ จะว่าเป็นโชคดีก็ได้นะคะทำให้ได้มีความรู้หลากหลายขึ้น บอกตามตรงว่าความรู้เรื่อง Logistic นำเข้า หรือ ส่งออก นั้นได้จากการพูดคุยกับ supplier, forwarder และน้อง ๆที่ทำเรื่อง BOI เป็นส่วนใหญ่ แล้วจับแต่ละจิ๊กซอมาเรียงกัน ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นทุกครั้งที่เติมจิ๊กซอตัวใหม่ ความรู้ก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

มาเข้าเรื่องกันเสียทีว่าจากประสบการณ์ของตัวเอง จะเลือกใช้ Incoterm exwork เมื่อไร?

อดีตของการสั่งซื้อส่วนใหญ่รุ่นพี่ ๆ มักจะเลือกเป็น Incoterm CIF เป็นส่วนใหญ่ เพราะสะดวก และง่ายต่อการทำงาน ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ส่ง Po ให้ supplier หลังจากสินค้าผลิตเสร็จก็จะถูกส่งลงเรือ พอมาถึงปลายทางคือ ท่าเรือแหลมฉบังหรือคลองเตย แล้วแต่จะตกลงกัน ผู้ซื้อก็แค่ให้ บริษัท shipping ไปเคลียร์สินค้าออกมาเท่านั้น เตรียมเอกสาร เดินพิธีการ และจ่ายภาษี สินค้าจะถูกส่งถึงโรงงานหรือโกดังเรียบร้อย ยิ่งถ้าเป็นสินค้ารายการเดิม ๆ ก็แทบจะหลับตาทำได้เลย อาจจะมีปัญหาจุกจิกกวนใจบ้าง เช่น สินค้าเสียหายระหว่างการขนส่ง หรือ loading เพราะการเคลื่อนย้ายก็มีอาจจะมีปัญหาเสียหายบ้าง ก็ claim กันไป

 

เมื่อง่ายแบบนี้แล้วทำไมต้องใช้ Incoterm exwork?

ถ้าเป็นบริษัททั่วไปวิธีการนี้ก็น่าจะลงตัวด้วยกันทุกฝ่าย แต่สำหรับ Automotive หรือบริษัทที่ให้น้ำหนักเรื่องการลดต้นทุนแล้ว เราจะต้องคลี่ทุกจุดที่มีต้นทุนแอบแฝงออกมาให้หมด แล้วเปรียบเทียบว่า การซื้อด้วย Incoterm แบบเดิม กรณีนี้ขอเปรียบเทียบกับ Incoterm CIF แล้วกันนะคะ กับถ้าเราเปลี่ยนเป็น Incoterm Exwork แบบไหนจะถูกกว่ากัน

Industrial Container Cargo freight ship with working crane bridg

เปรียบเทียบแล้วได้ผลอย่างไร?

ต้องบอกว่าที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เป็นการเล่าจากประสบการณ์นะคะ ไม่ได้บอกว่าอะไรถูกหรือผิด หรืออะไรดีที่สุดเสมอไป หากเราซื้อเป็น Incoterm CIF ต้นทุนในการขนส่งจะประกอบไปด้วย C=Cost, I=Insurance, F=Freight  คือนอกจากราคาสินค้าที่ผู้ขายเสนอมาแล้ว ยังรวมค่าประกันและค่าขนส่งทางเรือ (Freight) ไว้อีกด้วย และค่าใข้จ่ายเหล่านี้คิดบนพื้นฐานของเงิน USD จึงมีตัวแปรคือการอ่อนค่า หรือแข็งค่าของเงินเหรียญด้วย ดังนั้นผู้ขายจึงต้องมีการเผื่อความเสี่ยงเรื่องอัตรราแลกเปลี่ยนไว้ด้วย แต่ในฐานะพ่อค้า บอกได้เลยว่าไม่มีใครบวกแค่ความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนแน่นอน เพราะโดยธรรมการของการค้า ทุกย่างก้าวของธุรกิจอะไรที่ต้องทำงาน ต้องบวกค่าดำเนินการหรือบริหารจัดการไว้หมด ดังนั้น ในส่วนของค่าขนส่งจึงมักจะมีการบวกไว้เสมอ มากน้อยขึ้นอยู่กับประเทศที่เราค้าขายด้วย จากประสบการณ์ตรงเ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการนำเข้าโดย Incoterm CIF แล้วเปลี่ยนมาเป็น Incoterm Exwork ปรากฏว่าถูกกว่าเดิมประมาณ 20% โดยทั่วไปค่าเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 10%+

ไม่อยากเชื่อใช่มั้ยล่ะคะว่าแค่เปลี่ยนจาก Incoterm CIF มาเป็น Incoterm Exwork จะลดค่าใช้จ่ายได้ขนาดนั้น?

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะ เพราะทำมาแล้ว

ที่นี้มาดูกันว่า ในเชิงการทำงานหากเปลี่ยน Incoterm แบบนี้แล้ว มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรามาพูดถึงข้อดีก่อนนะคะ

Close-up of male hands with pen over document

  1. สามารถลดต้นทุนได้มากทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น รายการที่เราซื้อเป็นวัตถุหลัก นำเข้าปีละ 40 ล้านบาท ประมาณการค่าขนส่งไว้ 5% ของมูลค่านำเข้า อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท หากเราลดค่าใช้จ่ายได้ 20% จะคิดเป็นเงิน 400,000 บาท แล้วลองคิดต่อว่าถ้ามีแบบนี้หลาย ๆ รายการจะเป็นเงินเท่าไร เจ้าของธุรกิจอ่านแล้วอย่านิ่งเฉยนะคะ ทุกอย่างที่พูดมาคือความอยู่รอดขององค์กรทั้งนั้น
  2. การได้ปรับเปลี่ยนวิธีการ หรือหา solution ใหม่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นนักคิด ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งกับตัวพนักงานเองและองค์กรในการเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการเรื่องการนำเข้าสินค้ามากยิ่งขึ้น
  3. เมื่อเปลี่ยนเป็น Incoterm exwork หมายถึง เราจะมีมูลค่าทางธุรกิจกับบริษัท forwarder มากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ข้อมูลในการเรจรจาเรื่องการลดต้นทุนในอนาคต หรือมีโอกาสทางธุรกิจร่วมกันมากขึ้น

มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียบ้าง มาดูกันนะคะว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง  Incoterm Exwork คือการไปรับสินค้า ณ โรงงานของผู้ขาย ดังนั้นความรับผิดชอบเรื่องการขนส่งจึงเป็นของผู้ซื้อ ความเสี่ยงของผู้ซื้อมีอะไรบ้าง

  1. หากผู้ซื้อมี Planning ที่มีความแม่นยำต่ำ หรือเก็บสต็อคน้อย ข้อนี้อันตรายมาก เพราะมี่ความเสี่ยงจะต้อง Airfreight หากนำเข้าสินค้าไม่ทัน
  2. Planning ด้านผู้ขายเองก็ไม่แม่นยำ หรือ error บ่อยข้อนี้ก็เสี่ยงเหมือนกัน  ต้องกำหนดข้อตกลงให้ชัดเจนว่าหากผู้ขายผลิตสินค้าล่าช้าจะต้องเป็นผู้จ่ายค่า Air freight ถึงแม้จะเป็น Incoterm Exwork ก็ตาม ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะผู้ขายมักจะเกี่ยงความรับผิดชอบ หากไม่มี Agreement กันไว้ชัดเจน
  3. การกำหนดระดับสินค้าคงคลังต้องเหมาะสม หากน้อยเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะ shortage ได้
  4. การเลือกสายเรือที่ Lead time ค่อนข้างแม่นยำ หากต้องการควบคุมสินค้าคงคลังแบบเข้มงวด พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าเราเก็บสต็อคน้อย แล้วยังเลือกเรือราคาถูก เหมือนขึ้นรถไฟหวานเย็น ของมาถึงช้าก็อาจจะ shortage ได้ ดั้งนั้นการกำหนดสินค้าคงคลังและการพิจารณาเรื่องค่า freight จะต้องสอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงเกินไป

หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมจะต้องคิดอะไรมากมาย ที่อยากให้คิดเพราะทุกอย่างคือต้นทุน เก็บเยอะเกินไปก็เงินจม เก็บน้อยไปก็ shortage จึงต้อง่พิจารณาปัจจัยรอบด้านด้วยค่ะ ไมใช่แค่มองเรื่องการเก็บสต็อค ปัจจัยเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้เกี่ยวโยงกันหมด และอย่ามองข้ามปัญหาเล็กน้อยที่อาจจะนำพามาสู่ปัญหาใหญ่ได้ค่ะ

หวังว่าเพื่อน ๆ คงได้แนวทางในเลือกเลือกใช้ Incoterm Exwork กันแล้วนะคะ อย่าลืมว่าต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเองนะคะ นี่เป็นแนวทางเท่านั้นค่ะ 

สนใจเข้าร่วม free workshop ดูรายละเอียดได้จาก link นี้นะคะ

NO COMMENTS

Leave a Reply