Home Energy Evoluation วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

This article is in

0 18207

การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ 

วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม คือการลดค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์ เนื่องจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการปรับอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมาทำให้ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้น

ข้อกำหนดของการไฟฟ้า

ก่อนอื่นเราต้องรู้ข้อกำหนดของการไฟฟ้าก่อนว่าเพื่อที่จะมาปรับใช้กับวิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม   ค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์จะเรียกเก็บเฉพาะผู้ใช้ไฟประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง, ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ และประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง เท่านั้น โดยระบุว่า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใด ผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์ เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว …เฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ให้ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์

วิธีคิดหาค่าปรัปเพาเวอร์แฟคเตอร์  ของการไฟฟ้า เพื่อส่งเสริม วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม  

  1. หาความต้องการพลังไฟฟ้าแอคทีฟ( Active Power  : P ) หน่วยเป็น  KW
  2. หาความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ ( Reactive Power : Q )  หน่วยเป็น  KVAR
  3. พลังงานที่ใช้ (KW)ต่อเดือน คูณด้วย 61.97 %(ข้อกำหนดการไฟฟ้าเกินกว่า ร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังงานแอคทีฟ)
  4. หาความต่างของพลังงานรีแอคทีฟว่าเกิน 61.97 หรือไม่
  5. ส่วนที่เกิน คูณด้วยค่าปรับ 56.07 บาท จะเป็นค่าปรับของการไฟฟ้าในเดือนนั้น

 

พลังงาน

ตัวอย่างการคิดค่าปรับ  (สามารถดูได้จากบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือน)

1.   ค่าพลังงานแอคทีฟ  = 500  KW                                                 >จากบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือน

2.  ค่าพลังงานรีแอคทีฟ    = 550 KVAR                                         >จากบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือน

3.   (500 * 61.97)/100  = 309.85 KVAR                                    >61.97% ของ 500KVAR

4.    550-309.85             =  240.15 KVAR                                    >เกินร้อยละ 61.97 %อยู่ 240.15 หน่วย

5.    240*56.07              =  13456.8 บาท                                       >คิดค่าปรับหน่วยละ 56.07 บาท

 **ตัวเลขจากบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือน เป็นตัวเลขที่สมมุติขึ้น***

จากการคิดค่าปรัปของการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 4 เท่า ( ของเดิม 14.02 บาทเริ่มมิถุนายน 2555 )  ทำให้ทางโรงงานอุตสาหกรรมเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้น

ารปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับ วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม  โดยการใช้คาปาฅิเตอร์ (Capacitor)คาปาซิเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่จ่ายกระแสไฟฟ้ารีแอคทีฟ ถ้ากระแสไฟฟ้า มีทิศทางนำหน้าแรงดัน (Leading) เพื่อทำหน้าที่ชดเชยกระแสไฟฟ้าของวงจรไฟฟ้า โดยทั่วไป กระแสจะล้าหลังแรงดัน (lagging) คาปาซิเตอร์ในระบบไฟฟ้า มีหน่วยเป็น (kVAR)มีหลากหลายขนาดเช่น 5,10,15,30,45 แล้วแต่ผู้ผลิต การออกแบบติดตั้งคาปาฅิเตอร์ (Capacitor)ควรพิจารณาเรื่องการเกิดฮาร์โมนิกส์ด้วย  โดยส่วนมากวิศวกรผู้ออกแบบจะออกแบบไว้ประมาณ 30 %ของ load พลังงงานไฟฟ้าสูงสุด แต่โรงงานงานอุตสาหกรรมมักจะมีการปรัยปรุงเครื่องจักรตลอดเวลาทำให้ค่า ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ผิดเพี้ยนจากค่าเดิมได้ จึงต้องมีการตรวจเช็คประจำ ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ควรจะมีค่ามากกว่า 0.85 ในกรณีโหลดในโรงงานมีค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีโหลดขนาดเล็กจำนวนมากควรจะใช้ PF Conntroller ที่สามารถปรับค่าในช่องที่ถี่มากขึ้น

สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ,บัสลาสต์อิเลคทรอนิคส์

ขอขอบคุณ Guru ผู้ไม่ประสงค์ออกนามที่ช่วยแบ่งปันความรู้ในเชิงเทคนิคดี ๆ ให้เราได้อ่าน วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม  กันค่ะ

NO COMMENTS

Leave a Reply