เทคนิคการลดต้นทุนด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน
เทคนิคการลดต้นทุนด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนมากสำหรับ การเปลี่ยนวิธีการทำงานแล้วช่วยเรื่องการลดต้นทุนคือ ร้าน Fast food บางค่าย เพื่อน ๆ คงไม่เคยได้สังเกตกันมั้ยล่ะค่ะ เพราะเวลาเดินเข้าร้านเราก็รู้ว่าเขาเปลี่ยนวิธีการทำงาน แต่คงไม่มีใครคิดว่าถึงว่าที่เขาเปลี่ยนนั้นมีนัยยะมากกว่าการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ขออธิบายง่าย ๆ แบบนี้แล้วกันค่ะ
ขั้นตอนการทำงาน | Saving | |
---|---|---|
Before | After | ประมาณการ Saving |
ซอสรสต่าง ๆ ในขวดพลาสติก | เปลี่ยนเป็นแบบกด | เป็น stainless ลงทุนสูงกว่าแต่ใช้งานได้นานกว่า ระยะสั้นอาจจะไม่เห็น saving ทีเดียว แต่ต้องมองความคุ้มทุนในระยะยาว |
พนักงานต้องนำพวกซอสมาตั้งที่โต๊ะเมื่อเริ่มทำงานและเก็บเมื่อเสร็จงาน | งานตรงนี้หายไป เท่ากับเป็นการลดเวลาในการทำงานหรือ cycle time ลดลง ก็สามารถนเวลาตรงนี้ไปสร้างผลงาน หรือ productvity ด้านอื่น ๆ ได้อีก | สมมติว่าใช้เวลาในการทำงานดังกล่าว วันละ 30 นาที พนักงานเงินเดือน 12,000 เท่ากับลดต้นทุนจุดนี้วันละ 25 บาท หรือเดือนละ 750 x 12 เท่ากับ ปีละ 9,000 บาท อนุมานว่ามีสาขาทั่วประเทศไทย 4,000 สาขา เท่ากับลดต้นทุนได้เป็นเงิน 36,000,000 ล้านบาทต่อปี |
ลูกค้าจะเทซอสตามปริมาณที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเกินความต้องการและเหลือทิ้ง | เปลี่ยนภาชนะสำหรับเทซอสด้วยการใช้ถ้วยเล็ก เท่ากับเป็นการกำจัดปริมาณ หรือถ้าเป็นหลักอุตสาหกรรมก็คือการจำกัดปริมาณการใช้ หรือ consumption/short จุดนี้ทำให้ลูกค้าจะกดได้เท่าที่ถ้วยบรรจุได้ และก็น้อยคนที่จะกดไปครั้งละหลาย ๆ ถ้วย อย่างมากก็สองถ้วย ถ้วยละรสเท่านั้นเอง ข้อนี้เป็นการลดความความสูญเปล่านั่นเองค่ะ | สมมติว่าการใช้วิธีนี้สามารถช่วยลดความสูญเปล่าให้วันละ 10 บาทต่อสาขา หรือ 300 บาทต่อเดือน หรือ 1.2 ล้านบาทต่อปี |
ต้องบอกว่าที่เล่ามือเป็นตัวเลขสมมติเท่านั้น ดังนั้นหากเพื่อน ๆ ต้องนำหลักการนี้ไปคิด แต่จะประสบผลสำเร็จจริงมากน้อยเท่าไร ขึ้นอยู่กับการปรับวิธีการทำงาน การเก็บสถิติ จะช่วยให้การคำนวณ saving แม่นยำมากขึ้นค่ะ
ใครมี Idea ดีๆ ก็แบ่งปันลงได้นะคะ