การสรรหา คัดเลือก ผู้ขาย (Supplier Sourcing service)
Supplier sourcing หรือการสรรหา คัดเลือก supplier เพื่อให้ทำงานในลักษณะต่าง ๆ เช่น ชิ้นงาน งานบริการด้านเทคนิค การซ่อมบำรุง หรืองานด้านอื่น ๆ หากเป็นองค์ใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับแผนก sourcing ที่มีหน้าที่สรรหาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ทั้งด้านคุณภาพ ราคา และการจัดส่ง แต่หากบริษัทขนาดกลางทั่วไป หรือบริษัทเล็ก ๆ ที่ขาดความรู้ความชำนาญล่ะ จะประสบปัญหาอะไรบ้าง อาจจะแบ่งเป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้นะคะ
- หากเป็นบริษัททั่วไปที่ไม่ได้แยกแผนก sourcing โดยขนาดของธุรกิจไม่ได้ใหญ่มาก หน้าที่นี้ย่อมรวมอยู่กับงานของแผนกจัดซื้อ เพราะก็เหมือนแค่หา supplier รายใหม่มาทดแทน ถ้าเป็นสินค้ามาตรฐานในตลาดที่หาได้ทั่วไปก็เป็นเรื่องปกติค่ะ แต่หากเป็นสินค้าพิเศษ ต้องเจรจาในเชิงลึก หรือเป็นธุรกิจผูกขาด เฉพาะทาง พูดง่าย ๆ ว่าเป็น deal ใหญ่ ถ้าพนักงานจัดซื้อที่เคยเพียงแต่ซื้อสินค้าทั่วไปอาจจะขาดทักษะในการเจรจาลักษณะงานที่เป็น project ประเด็นนี้อาจจะทำให้องค์กรไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร ข้อนี้อาจจะโทษใครไม่ได้ เพราะชั่วโมงบินบางเรื่องมีเฉพาะในบางองค์กรเท่่านั้นจริง ๆ
- การวางกลยุทธ์ในระยะต่าง ๆ การ sourcing หรือ resourcing แต่ละครั้งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องวางกลยุทธ์ทางธุรกิจไว้ให้หมด เพราะการเปลี่ยน supplier ในแต่ละครั้งเหนื่อยและวุ่นวายมิใช่น้อย หากทำไม่เรียบร้อย สินค้าหรือบริการอาจจะขาดสต็อคหรือหยุดชะงักได้เลยทีเดียว นั่นหมายถึงส่งผลกระทบต่อพนักงานทั้งโรงงานก็เป็นได้ ต้องวางแผนดี ๆ ทั้งเรื่องข้อกำหนดต่าง ๆ ระยะเวลา การขนส่ง ทั้งระยะยาวและช่วงเปลียนผ่าน เหมือนง่าย แต่ไม่ง่ายค่ะ ยิ่งมูลค่าสูงหรือเป็นบริการที่ความถี่สูงเช่น รถขนส่งนี่ปัญหาสารพันเลยล่ะค่ะ
- ราคาคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกิจกรรมนี้ ส่วนใหญ่ sourcing ประเด็นหลักคือต้องการราคาที่ถูกลง เพื่่อผู้ประกอบการจะได้กำไรมากขึ้น อย่างไรก็ตามคุณการและการขนส่ง หรือหลักการ QCD ก็ยังต้องคงไว้ด้วย ข้อนี้จึงต้องวางหมากดีๆ ไม่ใช่เปลี่ยน supplier แล้วไปเจอเรื่องปัญหาคุณภาพ ส่งของไม่ตรงเวลา หรือให้ราคาได้แค่รอบเดียว แล้วทำต่อไม่ได้ เพราะ supplier ประเมินราคาพลาด ถ้าแบบนั้นคน sourcing นี่จะต้องเหนื่อยรอบสองแบบทุลักทุเลกันเลยล่ะค่ะ
- Supplier ต่างประเทศจะมั่นใจได้อย่างไรกับสิ่งที่เราคาดหวัง อันนี้ยากหน่อย ต้องดูภูมิหลัง, site audit, financial report, customer reference คือต้องทำการบ้านเยอะว่างั้นเถอะ
- ถ้าเป็นงานเฉพาะทางอื่น ๆ ล่ะ ยกตัวอยา่งการซื้อเครื่องจักรแล้วกันค่ะ ทางทีมงานจัดซื้อหรือ sourcing ต้องเข้าใจกระบวนการทำงานของ supplier และจะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับงวดการง่ายเงิน เช่น Design > Finish production process > Pre commissiong at supplier > Commissioning at customer site>Accepted machine จะเห็นได้ว่าแต่ละ step ทางทีมงานจัดซื้อหรือ sourcing จะต้องเข้าใจการทำงานของ supplier แบ่งการจ่ายเงินให้เหมาะสม สอดประสานกับทีมที่ใช้เครื่องจักร และควรจะต้องเข้าใจเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ หากเป็นเครือ่งจักรนำเข้าเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาระหว่างการขนส่ง มีประกันภัยหรือไม่ คุ้มครองอย่างไร เพื่อไม่ให้ project มีความเสี่ยงทั้งเรื่องเวลาในการจัดส่งและ safety ด้านต่าง ๆ
ที่เล่ามาทั้งหมดคือปัญหา basic ที่ต้องเจอแน่ ๆ แต่บอกให้เลยว่าการเปลียน supplier แต่ละครั้งมักอาจจะต้องเจออะไรเด็ด ๆ ที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้ และด้วยความที่ผ่านการ sourcing มาเยอะ ใน supplier หลาย ๆ กลุ่ม หากท่านใดสนใจรับคำปรึกษาและรับบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศสำหรับทุกอุตสาหกรรมได้ที่ 086 9027240