Epoxy, Resin สำหรับการเตรียมพื้นผิวทางด้าน Matallography
สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ วันนี้เรามาเล่ารายละเอียดงานเฉพาะด้านกันบ้างนะคะ เป็น Products ที่เกี่ยวกับงานเตรียมพื้นผิวทางด้าน Matallography สำหรับ Lab วิเคราะห์ ซึ่งถ้าเป็นพื้นงานทาง โลหะ เช่น เหล็ก สแตนเลน อลูมเนียม เซรามิค ตลอดจนงานพื้นผิวงานชุปพื้นผิว ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบ เนื่องจากมาตรฐานการผลิตกำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น อาจจะระบุไว้ว่า ต้อง sampling check 20-30 % ของจำนวนการผลิต หรือทุกครั้งที่เกิดปัญหา ก็จะต้องนำตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ ดังนั้นวันนี้จะพาไปล้วงลึกงานที่เกี่ยวกับ Lab กันดูบ้างค่ะ เราไปดูกันเลยนะคะว่าวิธีการเป็นอย่างไรกันบ้าง
1. เริ่มที่งานตัดพื้นผิวสำหรับงานชิ้นส่วนที่ใหญ่ เพราะถ้าชิ้นที่ใหญ่เกินไปทำให้ใช้กับเครื่อง Grinding หรือ Hardnessไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะถึงขั้นตอนต่อไปทีมงานที่ดูแลงานส่วนนี้จะทำให้ชิ้นงานนั้นเล็กลง เพื่อให้เหมาะสมกับการไปตรวจต่อไปค่ะ
อันดับแรก ต้องใช้ใบตัดแบบละเอียด หรือ Precision Cutting wheel หรือ Cutting Wheel ซึ่งถ้าตัดออกมาพื้นผิวชิ้นงานจะละเอียด สามาถที่นำไปตรวจสอบได้ครับ ซึ่งขนาดของใบตัดเองก็ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงานและเครื่องตัด
ใบตัดแบบ Precision เป็นการตัดแบบละเอียดซึ่งเหมาะที่จะใช้กับงานที่เป็นการตรวจสอบแบบละเอียดเพื่อที่จะทำการป้องกันการเกิด overheat หรือการยุบตัวของชิ้นงาน ซึ่งส่วนประกอบหรือชนิดของใบตัดจะต้องเลือกให้มีความเหมาะสมกับค่า Hardness และ Ducility of material influence ซึ่งชนิดของใบตัดแบ่งได้ตามค่า Hardness ของชิ้นงาน
A : Regular Alumina Oxide เหมะกับค่า Hardness 40-50 HRC
WA : White Alumina Oxide เหมะกับค่า Hardness 50-60 HRC
C : Silicon Carbide เหมะกับค่า Hardness 60 HRC Over
ขนาดและความเหมาะสมของใบตัดจะขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงานที่จะนำมาตัดเพื่อทำการตรวจสอบ Surface Preparation(การเตรียมพื้นผิว) สำหรับขนาดที่ Standard Size “คือ ขนาด 255×1.2×31.75 ( 255 คือเส้นผ่านศุนย์กลางด้านนอกขนาด 255 mm , 1.2 คือ ขนาดความหนาของใบตัด และ 31.75 ” คือ ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางด้านใน)
2. ขั้นการขัดพื้นผิวชิ้นงานหลังจากตัด ซึ่งถ้าเป็นแบบปกติก็จะใช้ กระดาษทรายน้ำ(Precision Abrasive) เริ่มจากเบอร์ P80 ไปจนถึงเบอร์ P4000 ซึ่งขนาดมาตรฐานของการขัดพื้นผิว “สำหรับขนาดของกระดาษทรายที่ใช้ กับเครื่องเตรียมชิ้นงานมีขนาดอยู่ประมาณ 3 ขนาด คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 มม. , 250 มม, และ 300 มม. ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นผิวที่ต้องการขัด ถ้าชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นก็จะใช้ Size ที่ใหญ่ตามไป
การขัดด้วยกระดาษทรายในแต่ละชนิดของ Material ที่นำมาตรวจสอบจะมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่าง ขึ้นอยู่การตรวจสอบที่ต้องการตรวจสอบต้องการความเรียบของพื้นผิวที่นำมาทดสอบว่าต้องการทดสอบระดับไหน โดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นชิ้นส่วนทางด้านโลหะ ค่าความเรียบของพื้นผิวต้องการอยู่ที่ P2000 ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นงานด้าน Semi-Conductor หรือ Electronic ต้องการความเรียบถึง P4000
3. งานหล่อชิ้นงานเพื่อทำการตรวจสอบ สำหรับงานที่ต้องการตั้งให้ได้มาตรฐานหรือ เพื่อตรวจสอบงาน Producttion เพื่อตรวจสอบดูโครงสร้างชิ้นงาน ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
3.1 Hot Mounting คือใช้เครืองอัดแบบชิ้นงาน กับผง Mounting (Bakelite )เพื่อสำหรับหล่อชิ้นงาน
สำหรับผง Bakelite ที่นำมาใช้ในการอัดขึ้นรูป มีหลายสีขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการ แต่สีนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายคือ สีดำ เพราะว่ามีราคาที่ถูกที่สุด
เวลาที่ลักษณะของชิ้นงานออกมา เป็นดังรูป แต่ข้อเสียของ Hot mounting คือส ามารถหล่อชิ้นงานได้ทีละ 1 ตัวใช้เวลาประมาณต่อ 1 ชิ้นงานอยู่ที่ 30 นาที และมีอุณหภูมิเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โดยใช้อุณหภูมิอยู่ที่ 170 – 200 OC ถ้าชิ้นงานที่ “ต้องการตรวจสอบเป็น Aluminum , Stainless , ทองเหลือง , ทองแดง หรือแม้แต่ชิ้นส่วน Electronic ,Semiconductor ” จะใช้ Process ตรงเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้เพราะจะทำให้โครงสร้างเสียหาย ซึ่งต้องใช้ Processในหัวข้อถัดไป
ลักษณะของงานที่เหมาะนำมาใช้ในในส่วนงานตรงนี้ คือ ชิ้นส่วน Autopart
3.2 Ambeint Mounting แบ่งออกได้ อีก 3 ชนิดแบบคือ
3.2.1 Epoxy (เรซิน)เป็นของเหลว 2 ชนิดผสมกัน แล้วแข็งตัว ชิ้นงานจะใสแต่ใช้ระยะเวลาประมาณ 3- 8 ชั่วโมง
ข้อดีคือลักษณะชิ้นงานที่ออกมาจะใส
3.2.2 Polyester เป็นของเหลว 2 ชนิดมีความคล้ายเคียงกับ Epoxy แต่ Peak Temp. หรือค่าอุญหภูมิสูงสุดจะมีค่าที่ ต่ำ เวลาที่ใช้ในหล่อชิ้นงานอยู่ที่ 6 – 8 ชม.
3.2.3 Fast Acrylic เป็นผง ผสมกับน้ำยาเคมี ใช้เวลาในการหล่ออยู่ที 10 – 20 นาที แต่ราคาก็ค่อนข้างสูงอยู่ครับ ลักษณะของชิ้นงานที่ออกมาจะขาวขุ่นโปร่งแสง แต่ไม่ใสเหมือน Epoxy ที่นิยมใช้เนื่องจากวเลาที่ใช้ในการหล่อเร็ว เพียงแค่ 10 -20 นาที
กลุ่ม A : Epoxy มีค่า Peak Temp. อยู่ที่ 100-375 OF Cycle Time อยู่ที่ 5-8 Hrs มีสีใส(clear) เหมาะกับอุตสาหกรรม Semiconductor “PCS Board , Conductor “
กลุ่ม B : Polyester มีค่า Peak Temp. อยู่ที่ 100 OF Cycle Time อยู่ที่ 6-8 Hrs มีสีใส(clear) เหมาะกับอุตสาหกรรม Semiconductor สำหรับงานที่ต้องการหดตัวต่ำ(Low Shrinkage) และ Peak Temp ที่ต่ำ แผงวงจรที่ ต้องการวิเคราะห์ โครงสร้างอย่างละเอียด
กลุม C : Fast Acrylic มีค่า Peak Temp. อยู่ที่ 150 OF Cycle Time อยู่ที่ 10-20 mins มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง (transalent) ค่าการหดตัวของชิ้นงานสูง ต้องการความรวดเร็วในการตรวจวิเคราะห์เหมาะสำหรับงานที่มีการยุบตัวสูงและต้องการความรวดเร็วในการตรวจสอบ มีความเหมาะสมสำหรับงาน “Aluminuim , Stainless , ท่อทองเหลือง” ท่อทองแดง
4. Diamond และ Alumina Oxide ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการขักพื้นผิว
4.1 Diamond Sus เป็นการขัดพิ้นผิวของชิ้นงานแบบเร่งด่วน ค่าความละเอียดสูงสุดที่ได้อยู่ที่ 0.1 Micron
4.2 Alumina Oxide เป็นการขัดพื้นผิวด้วย Alumina Oxide มีค่าความละเอียดของพื้นผิวที่ทำการขัดอยู่ที่ 1.0 , 0.3 และ 0.05 Micron ซึ่งกรใช้งานดังกล่าวต้องใช้คู่กันกับ Polishing Clothes ซึ่งชนิดของผ้าขัดเองสามารถแบ่งได้อีกหลายชนิด
นอกจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว หากเพื่อน ๆ ต้องการลดต้นทุนก็ง่ายมากค่ะ เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะของเรซิ่นเหล่านี้ ก็จะสามารถลดต้นได้มากทีเดียวค่ะ แล้วจะมาเล่าให้ฟังกันในตอนต่อ ๆ ไปนะคะ