Home Purchasing Inside Global volume คืออะไร

Global volume คืออะไร

This article is in

0 3804

Global volume สำหรับคนไทยอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเราแทบไม่ได้ใช้เลย  แต่หากเป็นบริษัทห้ามชาติคำว่า จะต้องได้ยินบ่อยมาก ๆ โดยเฉพาะนักจัดซื้อ เพราะเป็นโจทย์ที่จะต้องหาคำตอบกันทุกปีก็ได้ว่า อธิบายง่าย คือ บริษัทข้ามชาติจะมีสาขาทั่วโลก ในแต่ละสาขาหรือโรงงานของแต่ละประเทศนั้นย่อมต้องการวัตถุดิบสำหรับการผลิต ต่างหรือเหมือนกันขึ้นอยู่กับฐานการผลิตในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่มีความเป็นไปได้ที่จะได้สินค้าซ้ำกันบ้าง เพราะแนวโน้มจะทำตลาดในสินค้ากลุ่มเดียวกัน ดังนั้น ผู้บริหารที่อยู่สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศก็จะเล็งเห็นว่า ในแต่ละประเทศควรจะต้องมีการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ บริการ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะต้องซื้อ จะต้องจ่ายเงิน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็จับความต้องการทั้งหมดมารวมกันซะเลย เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับคู่ค้าให้ลดราคาลงมา พัฒนาการบริการให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น

  • บริษัทในเครือทั้งหมดต้องการอลูมิเนียมทั่วโลกของทุกสาขา 10,000 ตันต่อปี โดยอาจจะพิจารณาย่อยตามรายการ แต่สุดท้ายก็จะดูภาพรวมของการซื้อทั่วโลก เพื่อต่อรองราคากับผู้ขายให้ลดราคาเป็นรายปี หรือทุกครั้งที่มีการต่อสัญญา
  • เมื่อมีการซื้อสินค้าก็จะต้องมีการขนส่ง บริการเรื่องขนส่ง หรือ freight forwarder ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่นำมาพิจารณาเป็น global volume ได้เพราะบริการนี้จะผันไปตามวัตถุดิบที่ต้องการหรือเติบโตตามธุรกิจนั่นเอง
  • การสื่อสารระหว่างประเทศ การพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น แต่ถูกลง จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จ่ายน้อยลงด้วยการใช้หลักการ global volume มาต่อรองและด้วยเทคโนโลยีทีเปลี่ยนไปนั่นเองค่ะ
  • ระบบกระจ่ายสินค้า เมื่อ demand เพิ่ม ระบบกระจายสินค้าในแต่ละผู้ผลิตให้ทันกับความต้องการจะมีผลตามมาทันที ข้อนี้จะไปสอดคล้องกับเรื่อง freight forwarder โดยบริการอาจจะรวมหรือแยกขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรจะพิจารณา

ยกตัวอย่างมาหลายกรณีแล้ว หวังว่าเพื่อน ๆ คงมองภาพ คำว่า global volume กันออกมากขึ้น และสามารถปรับนำไปใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรได้เช่นกันค่ะ เราก็ทำกันเองในประเทศได้ แต่ปรับหน่อยเท่านั้นเองค่ะ

 

NO COMMENTS

Leave a Reply