Home Incoterm Incoterm คืออะไร?

Incoterm คืออะไร?

This article is in

1 52678

ก่อนหน้านี้เราก็เคยถามคำถามนี้เหมือนกับอีกหลาย ๆ คน ว่า Incoterm คืออะไร เพราะสำหรับคนไทยอย่างเรา ในโรงเรียนไม่มีสอน เคยเรียนเรื่อง term มาบ้างแต่ก็ไม่ได้เน้นคำว่า Incoterm เลยยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเพราะต้องเรียนรู่ด้วยตัวเอง จากการทำงานจริง ถาม supplierบ้าง หาข้อมูลเพิ่มบ้าง และคิดว่าเพื่อน ๆ ที่อยู่ในสายอาชีพนี้ หรือน้อง ๆ ที่เรียนเกี่ยวกับโลจิสติกส์ก็คงประสบปัญหาแบบนี้มิใช่น้อย เพราะหากไม่ได้ลองทำงานจริง รับรองว่านึกภาพไม่ออกแน่นอนค่ะ

วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังในแบบที่ภาษาที่ไม่เป็นทางการ เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริงแล้วกันนะคะ เพราะถ้าพูดภาษาเป็นทางการเพื่อน ๆ น้อง ๆ อาจจะงง ๆ อ่านแล้วก็ยังไม่ตอบโจทย์ที่ยังคงสงสัยกันอยู่ดี  หรือไม่ให้ลองอ่านเพิ่มเติมที่บทความนี้นะคะ ข้อแตกต่างระหว่าง Incoterm 2000 และ Incoterm 2010

เริ่มต้นจากเมื่อผู้ซื้อต้องการสินค้าย่อมต้องมีการสอบราคาจากผู้ขายหลายแหล่ง นอกจากเสนอราคาสินค้าแล้ว ผู้ขายจะต้องระบุมาด้วยว่าจะจัดส่งสินค้าด้วยวิธีใด หรือหมายถึงเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันค่ะ นี่แหละ คือ คำตอบที่ว่า Incoterm คืออะไร?

Untitled-6
Untitled-8
Untitled-3

ที่ผู้ขายต้องระบุเงื่อนไขการส่งสินค้าเพื่อแสดงความชัดเจนว่าสินค้านั้นจะมาถึงผู้ซื้อด้วยวิธีการใด ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจ Concept ที่ใช้กันเป็นหลักก่อนนะคะ โดยยังไม่ลงรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งจะไว้เล่าให้ฟังตอนหลังนะคะ และแบบที่จะเล่าต่อไปนี้ยังเป็นแบบ Incoterm 2000 นะคะ มาดูตัวอย่างกันเลยค่ะ

  • ผู้ขายเสนอค่าสินค้า โดยไม่รวมค่าขนส่ง แบบนี้เรียกว่า Exwork  พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ซื้อจะต้องไปรับสินค้าที่โรงงานของผู้ขายเอง และรับผิดชอบค่าขนส่งและค่าดำเนินการที่เหลือเองทั้งหมด
  • ผู้ขายเสนอราคาพร้อมรวมค่าขนส่งจนถึงท่าเรือของประเทศผู้ขาย แบบนี้เรียกว่า FOB หรือ Free on board ส่วนการขนส่งสินค้าลงเรือและค่าดำเนินการที่เหลือเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ
  • ผู้ขายเสนอราคาพร้อมรวมค่าขนส่งจนถึงท่าเรือประเทศของผู้ซื้อ แบบนี้เรียกว่า CIF แต่ขั้นตอนหลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อทั้งหมดที่จะต้องไปดำเนินการเอง
  • ผู้ขายเสนอราคาพร้อมค่าขนส่งและรวมค่าดำเนินการต่าง ๆ จนถึงโรงงานของผู้ซื้อ ยกเว้นค่าภาษีนำเข้า  แบบนี้เรียกว่า DDU (Delivery duty unpaid)
  • ผู้ขายเสนอราคาพร้อมรวมค่าขนส่งจนถึงโรงงานของผู้ซื้อโดยรวมทุกอย่างไว้หมดแล้ว รวมถึงภาษีนำเข้า แบบนี้เรียกว่า DDP (Delivery duty paid)

ที่เล่าให้ฟังมาทั้งหมดนี้เป็น Term ที่มักนิยมใช้กัน แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเรื่องของการประกันภัยหรือเอกสารประกอบในการดำเนินการนะคะ แค่อยากให้เพื่อน ๆ เข้าใจภาพใหญ่ของ Incoterm ก่อนว่า หมายถึงอะไร และวิธีปฏิบัติ ผู้ซื้อและผู้ขายทำกันอย่างไร

(Image owner by Patrick Choi >https://www.flickr.com/photos/patrick_choi/11793084286)

(Image owner by Patrick Choi >https://www.flickr.com/photos/patrick_choi/11793084286)

Incoterm 2000, Incoterm 2010, Incoterm 2011, Incoterm 2012, Incoterm 2013, Incoterm 2014

มีประกาศตามนี้จริงหรือเปล่า? มีหลายคนสงสัย ?

 ที่จั่วหัวแบบนี้ไม่ได้หมายความว่า ICC (Internaltion Chamber of Coomerce)  มีการเพิ่มหรือประกาศบทบัญญัติเกี่ยวกับ Incoterm ใหม่แต่อย่างใด แต่อย่างที่เคยบอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ทั่วไปจะคุ้นเคยกันสักเท่าไร ดังนั้นเมื่อไม่รู้ หลาย ๆ ท่านจึงค้นหาด้วยปีที่ตัวเองคิดว่าน่าจะเป็นปีที่ออกประกาศเกี่ยวกับข้อกำหนด Incoterm นั่นเอง

Incoterm 2000 คือข้อกำหนดเดิมที่เราใช้กันมายาวนาน แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติบางเงื่อนไขมีความซ้ำซ้อนและคาบเกี่ยวกัน ทำให้บางครั้งเกิดความสับสน จึงเป็นสาเหตุให้มีการประกาศข้อกำหนดใหม่ในต้นปี 2011 โดยเรียกว่า Incoterm 2010 แต่เพื่อน ๆ ที่ไม่รู้ก็มักจะค้นหากันแบบเผื่อไว้ก่อน บางท่านไม่รู้ว่าเป็นปีไหนกันแน่ ทีนี้คงรู้กันแล้วนะคะว่าที่จริงแล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2011 เป็นต้นมา เราเริ่มใช้ตามข้อกำหนดใหม่คือ Incoterm 2010 เพียงแต่ในทางปฏิบัติเชื่อเหลือเกินว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังเรียกติดปากแบบเดิม ๆ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนกันเท่าไร เช่น DDU ต้องเปลี่ยนเป็น DAP แต่เราก็ยังชินที่จะเรียกว่าเป็น DDU

ความสำคัญของ Incoterm นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เข้าใจถูกต้องตรงกันกับผู้ขาย

เพื่ออะไร?

เพราะในการส่งสินค้าแต่ละครั้งหมายรวมถึงความรับผิดชอบที่จะตามมาอีกมากมาย หากเราเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วเกิดความเสียหายมาภายในหลังอาจจะยากเกินแก้ ตัวอย่างเช่น ผู้ขายเสนอเงื่อนไข FOB ดังนั้นความรับผิดชอบเรื่องประกันภัยก็จะเป็นของเรา แต่หากเราลืมหรือไม่ซื้อประกันภัย แล้วระหว่างขนส่งเกิดปัญหาระหว่างการเดินทาง สินค้าเสียหาย ตอนนี้ล่ะปัญหาเกิดแน่ เพราะต้องไปดูเงื่อนไขแล้วว่าถ้าไม่มีประกันเลย จะดำเนินการอย่างไร? เสียหายฟรี?

สาเหตุความเสียหายเกิดจากเรือสินค้าหรือเปล่า?

Cargo Ship

และสุดท้ายใครจะรับผิดชอบ เห็นมั้ยคะว่า ต้องระมัดระวังและรอบคอบกับเรื่องเหล่านี้มาก เพราะเมื่อสินค้าถึงลูกค้าทุกอย่างต้องอยู่ในสภาพ 100% พร้อมใช้งาน

อีกประเด็นหนึ่งคือ ระหว่างการขนส่ง เมื่อมีการเปลี่ยนมือก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน เพราะหากสินค้าเสียหายมาก่อนที่ถึงอีกทอด และระหว่างนั้นเปลี่ยนความรับผิดชอบจากฝ่ายหนึ่งเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายที่รับช่วงไม่ได้มี comment ใด ก่อนการรับสินค้า แสดงว่าผู้รับสินค้ายอมรับโดยปริยาย หากมีกรณีแบบนี้เกิดปัญหาในการ claim ขึ้นมาได้ ดังนั้น Incoterm จึงไม่ใช่เป็นเพียงการตกลงเรื่องราคาและเงื่อนไขการส่งสินค้าเท่านั้น แต่มีผลของการทำงานที่อาจจะมีความบกพร่อง ล่าช้า และปัญหาอื่นใด ที่จะนำมาซึ่งความเสียหาย ถ้าเราเข้าใจแม่นยำ ถ่องแท้ ถึงขอบข่ายความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อ ผู้ขาย มีการรับมอบเปลี่ยนมือกันอย่างรอบคอบ ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่ค่อยเกิด แต่หากขาดความระมัดระวังก็จะไม่ปัญหาเหล่านี้ตามมา

อยากให้เข้าใจว่าธรรมชาติของการขนส่ง การเดินทางนั้นอยู่บนพื้นฐานของปริมาณสินค้ามากมาย เร่งรีบ จึงเกิดความเสียหายขึ้นได้ ดังนั้นการเลือก Incoterm จึงควรสอดคล้องสัมพันธ์กับตัวสินค้าด้วย เพื่อความประมาทในการบริหารจัดการด้านการขนส่งค่ะ

กำลังมีแผนที่จะเปิดเป็น free workshop เพื่อ sharing knowledge เพื่อน ๆ น้อง ๆ ที่สนใจสามารถแจ้ง email ไว้ที่ facebook หรือ ที่ email :factory guideline@gmail.com กันได้เลยนะคะ จัดเมื่อไรจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ

1 COMMENT

Leave a Reply