กฎใหม่ EU ตลาดเงิน เปิดช่องแบงก์ใหญ่
ในปี 2551 เป็นต้นมาทวีปยุโรปต้องประสบกับวิกฤตหนี้สิ้น ที่สร้างความวุ่นวายตั้งแต่ฝ่ายบริหารประเทศถึงประชาชนทั่วไป กลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ ยูอี ได้มีการพูดคุยในประเด็นการยกเครื่อง กฎที่ใช้ร่วมกันในตลาดการเงิน เพื่อพัฒนาตลาดการเงินให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจ และได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน ที่ใช้ชื่อว่า MIFID (Markets in Financial Instruments Directive) นับเป็นก้าวสำคัญในการออกกฎการเงินให้รัดกุมมากขึ้น
“กฎดังกล่าวจะเป็นกุญแจดอกสำคัญ ไขไปสู่การสร้างรากฐานที่มั่นคงกว่าเดิม เสรีมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อระบบการเงินมากขึ้น และเป็นการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนในช่วงวิกฤตอีกด้วย” นายแบร์นิเออร์กล่าว
กฎนี้เน้นลดความเสี่ยงในการซื้อขายภายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมกับเพิ่มข้อกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับ “High Frequency Trading” หรือธุรกรรม “เทรดความถี่สูง” ที่เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายโดยคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากมนุษย์ เพื่อที่จะปกป้องนักลงทุน และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตลาด ยังบังคับให้บริษัทต่าง ๆ จัดส่งข้อมูลการเทรดให้กับยูอีเพื่อความโปร่งใส่ และบังคับห้างร้านให้ใช้เครื่องมือการซื้อขายทางการเงินในตลาดให้สอดคล้องกับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
หากมีการเคลือบแคลงว่าการออกกฎนี้ขึ้น จะเป็นการเปิดช่องทางให้บริษัทใหญ่สัญชาติยูอีหลบเลี่ยงกฎข้อบังคับหรือไม่ เนื่องจากกฎใหม่นี้จะผลักดันให้การค้าเกือบทั้งหมดทั้งปวงเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ พันธบัตร และตลาดอนุพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินและกิจกรรมทางการค้าให้กับผู้กำกับดูแล โดยประโยชน์จะตกกับธนาคารรายใหญ่ที่ใช้ช่องทางนี้และการให้บริการในการซื้อขายประเภท “Dark Pools” ที่เป็นการซื้อขายแบบลอตใหญ่ และจะไม่เปิดเผยตัวตนผู้ส่งคำสั่งซื้อขายจนกว่าคำสั่งจะจับคู่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากในกฎใหม่ด้านการค้าขายครั้งนี้ อียูจะเข้มงวดมากขึ้นในการใช้ข้อยกเว้นต่าง ๆ และอาจทำให้ผู้ค้าหันหน้ามาใช้ประโยชน์ผ่านวิธีการดังกล่าวมากขึ้น
ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อกฎนี้ได้ใช้จริงแล้ว จะมีช่องว่างเล็ก ๆ ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานใหญ่ ๆ ตามการคาดการณ์หรือไม่ หากเกิดขึ้นจริง ผู้ค้ารายย่อยมีสิทธิ์ล้มก่อนได้ง่าย ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์