การบริหารกระแสเงินสด หรือการบริหาร Cash flow
การบริหารกระแสเงินสด หรือการบริหาร Cash flow สำหรับองค์กร โดยเฉพาะภาคเอกชน ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เพราะกระแสเงินสดถ้าจะเปรียบเปรยให้เข้าใจง่าย ๆ เสมือนเส้นเลือดน้อยใหญ่ที่หล่อเลี้ยงร่างกาย หากการหมุนเวียนไม่สะดวก ร่างกายก็ไม่แข็งแรงหรือเจ็บป่วย เมื่อการไหลเวียนไม่ทั่วถึง แน่นอนว่าจะมีจุดของร่างกายที่ประสิทธิภาพในการทำงานจะด้อยลงไปทันที ปัญหาที่ว่ามานี้อาจจะมาจากเลือดไม่พอ เลือดด้อยคุณภาพ ก็เป็นได้
ถ้าเทียบกับองค์กรธุรกิจ กระแสเงินสด หรือ cash flow หากมีไม่เพียงพอต่อการหมุนเวียนก็อาจะทำให้องค์กรสะดุด หยุดชะงักได้ ดังนั้นไม่ว่าองค์กรเล็ก หรือใหญ่มีสิทธิพบเจอปัญหานี้ด้วยกันทั้งนั้น เพราะบางครั้งองค์กรใหญ่อาจจะเจออุบัติเหตุทางธุรกิจก็ได้ใครจะรู้
ทีนี้มาดูกันว่าอะไรที่จะช่วยให้ การบริหารกระแสเงินสด หรือการบริหาร Cash flow เราไหลลื่นกันได้บ้างล่ะ คิดแบบง่าย ๆ แบ่งได้ดังนี้ค่ะ
เรื่องแรกคือทุกอย่างที่เป็นขารับ ทั้งจากลูกหนี้ ที่เกิดจากการขายสินค้า หรือรายได้อื่นใดก็ตาม รวมไปถึงภาษีหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะได้คืนกลับมา ต้องกุมให้อยู่หมัด ได้ตามเป้า ไม่งั้นมีสิทธิแย่ได้ เพราะคนที่ใช้เงินจะไม่รู้ปัญหาของขารับว่าติดอะไรตรงไหนบ้าง ยังใช้เหมือนเดิม
เรื่องที่สองคือขาจ่าย ก็คือ ค่าสินค้าที่จะต้องจ่าย supplier ภาษี เงินเดือน หรือค่าใช้จ่ายอื่น โดยปกติถ้าหากต้องการให้บริหาร cash flow ง่ายหน่อย ก็ต้องพยายามหาเครดิตได้สมดุลหรือมากกว่าขารับ
เพราะอะไร?
เพราะอะไร?
เพราะถ้ารับน้อย รับช้า แต่จ่ายเร็ว ลองนึกภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้น?
รอบสองด้านจะไม่เท่ากัน?
อาการคงไม่ต่างจากรูปนี้
แม้แต่รอบเท่ากันก็เหนื่อยแล้ว เพราะหากขาจ่ายสักรายเปลี่ยนใจไปจ่ายในภายหลัง เราจะเกิดอาการขาดเลือดหรือขาดกระแสเงินสดในบัดดล
การบริหารกระแสเงินสด หรือการบริหาร Cash flow นั้นดูเหมือนง่าย แต่ปัญหาของ SME คือขาดการ forecast หรือประเมินสถานที่ไม่คาดคิดว่าอาจจะเกิดขึ้น หรือไม่ได้มีการวิเคราะห์คุณภาพหนี้ คุณภาพของลูกค้ามากพอ ทำให้อาจจะเกิดปัญหาอันไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้อีกปัญหาหนึ่งของ SME หรือมักจะต้องซื้อเงินสด หรือไม่ได้เครดิต ทำให้ขารับและขาจ่ายไม่สัมพันธ์กัน คือจ่ายเร็ว รับช้า แถมลูกค้าต้องการเครดิตยาว ๆ อีก ในขณะที่ตนเองไม่สามารถหาเครดิตได้ ดังนั้นรอบการหมุนของเงินขารับและขาจ่ายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ดังนั้นไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่ต้องคอยหมั่นตรวจสุขภาพของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ ๆ การบริหารกระแสเงินสด หรือการบริหาร Cash flow จะต้องแน่นตั้งแต่ทีมงาน ว่าทั้งรับและจ่ายจะต้อง balance กัน หากเกิดมีปัญหาเฉพาะหน้าก็ควรจะต้องรู้ตัวล่วงหน้าก่อน แต่การทำหรือเป็นแนวนั้นได้นั้น หมายถึงฝ่ายการเงินต้องคอยติดตามดูแลทั่วถึง ไม่ให้คลาดสายตา และตัวเลขที่รายงานก็ต้องแม่นยำ