ก๊าซฮีเลี่ยมเพื่ออุตสาหกรรม และธุรกิจอื่น ๆ
ก๊าซฮีเลี่ยม (Helium) เป็นหนึ่งในก๊าซที่ได้จากธรรมชาติ แหล่ง ๆ ใหญ่นั้นจากทางอเมริกา ไทยจึงเป็นหนึ่งในปลายทางในการใช้ก๊าซฮีเลี่ยม โดยเมื่อปี 2011 ได้เกิดวิกฤต Helium shortage เนื่องจากต้นทางหรืออเมริกาหยุดการผลิตเพื่อทำการซ่อมบำรุงประจำปี แต่แผนที่จะต้องเปิดดำเนินการช้ากว่าที่กำหนดไว้ จนทำให้เกิดการขาดแคลน ก๊าซฮีเลี่ยมไปทั่วโลก โดยไทยกระทบก่อนเพราะอยู่อีกซีกโลก จึงกระทบก่อนใคร
ใครใช้ก๊าซนี้บ้าง?
ในภาคอุตสากรรมที่ใช้ก๊าซฮีเลี่ยมเป็นหลัก ก็เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับแอร์ เนื่องจากฮีเลี่ยมมีโมเลกุลเล็ก จึงเหมาะสมที่จะใช้ตรวจสอบ Leak test หรือทดสอบรอยรั่ว ก่อนที่จะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ ก๊าซฮีเลี่ยมยังมีใช้ในกลุ่มเพื่อความบันทึกหรือสันทนาการ เช่น ลูกโป่ง ในงานเทศกาลต่าง ๆ อีกด้วย
ก๊าซนี้จะมีใช้อีกนานเท่าไร?
เท่าที่แหล่งข้อมูลที่พบในปัจจุบัน ฮีเลี่ยมน่าจะมีใช้อีกไม่เกิน 10 ปี สำหรับแหล่งที่อยู่ในปัจจุบัน อนาคตปัญหาของฮีเลี่ยมคงคล้ายกับน้ำมันที่ทรัพยากรธรรมชาตินี้จะหมดไปในที่สุด จึงเป็นโจทย์ของภาคอุตสาหรรมที่จะต้องเร่งหาทางออกในอนาคตว่าหากก๊าซนี้ไม่มีแหล่งใหม่ จะนำอะไรมาทดแทนที่ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า
เส้นทางก๊าซฮีเลี่ยมเป็นอย่างไร?
ก๊าซฮีเลี่ยมจะถูกขนส่งมาทางเรือโดย Bulk หรือท่อขนาดใหญ่ เมื่อมาถึงปลายทางก็จะทยอยถ่ายจาก bulk ใหญ่ลงสู่ Cylinder หรือถังเล็กสำหรับภาคอุตสาหกรรม แล้วจึงทยอยส่งถึงลูกค้าด้วย Cylinder เพื่อสะดวกต่อการใช้งานสำหรับลูกค้า สำหรับบางผู้แทนจำหน่ายที่ไม่มี Plant เพื่อจะถ่ายจาก Bulk ลง Cylinder ก็จำเป็นจะต้องส่งท่อเปล่าเพื่อไปเติมลง Cylinder ยังประเทศสิงคโปร์หรือญี่ปุ่น ดังนั้นต้นทุนของฮีเลี่ยมจึงมีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งเรื่องปริมาณการสั่งซื้อ แหล่งที่สั่งซื้อซึ่งมีต้นทุนที่แตกต่างกัน
ดังนั้นนักจัดซื้อจึงไม่ใช่มีหน้าที่เพียงซื้ออย่างเดียว ต้องเข้าใจวิธีการผลิต สัดส่วนการผลิต การบรรจุ เส้นทางการเดินของวัตถุดิบอีกด้วย แล้วนำมาวิเคราะห์ต้นทุน ความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เพื่อได้สินค้าที่ต้นทุนเหมาะสม
นอกจากนี้การได้รู้เท่าทันตลาดความเป็นไปของตลาดโลกก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมการวางแผนอนาคตสำหรับธุรกิจที่ทำอยู่อีกด้วย