ตารางเปรียบเทียบเกรดเหล็กมาตรฐาน
เหล็ก ที่ใช้กันอยู่ในทุกอุตสาหกรรมนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างตามลักษณะการใช้งาน ทั้งเรื่องความแข็ง หรือความเปราะ และคุณสมบัติอื่น ๆ ดังนั้นการเลือก เกรดเหล็ก ให้เหมาะสมกับงานจึงเป็นเรื่องจำเป็น ด้วยเหตุนี้จึงเกิด ตารางเปรียบเทียบเกรดเหล็กมาตรฐานขึ้น เพื่อให้สะดวกต่อการเลือกคุณสมบัติที่จะนำมาใช้ในแต่ละประเภทงาน ที่มีความต้องการแตกต่างกันตามคุณลักษณะของสินค้า การนำไปใช้ และอายุการใช้งาน มาตรฐานที่ใช้ ๆ กันมีอะไรบ้าง เทียบเคียงได้ดังนี้ค่ะ
- DIN
- JIS
- AISI
- UNI
- ASSAB
- BOHLER
- BUDERUS
- DAIDO
- HITACHI
- KOSHUHA
- ROCHLING
นอกจากนี้ในการจัดจำหน่ายก็มีหลายผู้ผลิตหลายแหล่ง แต่ละรายก็สร้างมาตรฐานเฉพาะของตนเองขึ้นมาเพื่อเป็น Brand ของตัวเอง แต่ถึงกระนั้น เมื่อนำมาเทียบเคียงทั้งหมดก็สามารถแบ่งตามมาตรฐานตามตารางต่อไปนี้
เมื่อพิจารณาจากมาตรฐานที่เทียบเคียงกันในแต่ละค่ายแล้วจะได้เห็นได้ว่าความต่างคือ เชื่อเรียก แต่ละมาตรฐานก็จะมีชื่อเรียกของตัวเอง ส่วนชื่อที่นิยมมากที่สุดน่าจะเป็นมาตรฐาน JIS แต่การจะซื้อค่ายอื่น มาตรฐานไหนก็ใช้งานได้เหมือนกัน เพียงแต่ใครเป็นลูกค้าใครนิยมค่ายไหนก็เท่านั้น ในส่วนของนักจัดซื้อสิ่งที่ต้องพึงตระหนักสำหรับเรื่อง เกรดเหล็ก คือ การตรวจสอบว่าทีมงานได้เลือก เกรดเหล็ก ที่เหมาะสมกับงานหรือเปล่า เช่น งานแม่พิมพ์ ก็จะมีเกรดเฉพาะสำหรับงานแม่พิมพ์ เพราะการเลือก เกรดเหล็ก มีผลต่ออายุของแม่พิมพ์ หรือผลต่อคุณภาพของชิ้นงานในอนาคต เป็นต้น
อีกประเด็นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ตารางเปรียบเทียบเกรดเหล็กมาตรฐาน คือ เมื่อมีสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งควรจะต้องขอ certificate เพื่ออ้างอิงมาตรฐานและรับรองคุณภาพของการผลิต ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะหากหลังจากนั้นสินค้าเกิดมีปัญหาเมื่อลูกค้านำไปใช้งาน หรือนำไปทำ Process อื่นต่อจากนี้แล้วไม่ได้ตามมาตรฐาน เช่น การชุบ เป็นต้น เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับคุณภาพของวัตถุดิบได้จากเอกสารเหล่านี้นั่นเองค่ะ
ประเด็นเล็ก ๆ อาจจะสร้างปัญหาใหญ่ในอนาคตได้หากเราละเลยกันค่ะ แต่อีกปัจจัยที่นักจัดซื้อคงลืมกันไม่ได้ก็คือ เมื่อเทียบเกรดแล้วเหมือนกัน ที่เหลือก็คงเป็นเรื่องราคาที่แต่ละผู้ผลิตจะต้องแข่งขันกันให้ได้ เพื่อที่ผู้ซื้ออย่างเราจะไปแข่งขันต่อกับลูกค้าปลายทางนั่นเองค่ะ โดยเฉพาะสภาวะปัจจุบันที่ราคาน้ำมันผันผวน ราคาเหล็กจึงผันผวนตามไปด้วย การสอบราคาและเปรียบเทียบราคาให้อยู่ใน Market level หรือราคาตลาดที่เหมาะสมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหัวใจของธุรกิจขับเคลื่อนไปด้วยองค์รวมตามหลักการจัดซื้อคือ QCD คุณภาพ ราคา และการส่งมอบ เมื่อใช้หลักเหล่านี้มาพิจารณาร่วมเราก็จะได้สินค้าคุณภาพ ราคาเหมาะสม และส่งมอบได้ทันเวลานั่นเองค่ะ