ถอดบทเรียน “เรือล่มที่เกาหลีใต้” ให้อะไรแก่ผู้ประกอบการบ้าง ในเรื่องของความปลอดภัย?
อ่านแล้วอย่าเพิ่งสงสัยนะคะว่า เรือล่มแล้วเกี่ยวอะไรกับวงการอุตสาหกรรม?
ถ้าอ้างอิงจากข้อมูลในข่าว มีประเด็นที่น่าสนใจแล้วนำมาวิเคราะหา์ เทียบเคียง กับระบบในอุตสาหกรรม เพื่อนำมาปรับปรุงข้อบกพร่องได้ดังนี้ค่ะ
เรือล่มที่เกาหลีใต้ กัปตันให้ผู้โดยสารอยู่นิ่ง และเข้าไปอยู่ในห้องโดยสาร เพราะมองว่าข้างนอกคลื่นลมแรง และอากาศหนาวจัดมีความเสี่ยงมากกว่าอยู่บนเรือ ในช่วง 30 นาที ถ้าดูข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าการจะช่วยให้ผู้โดยสารปลอดภัยต้องให้อพยพก่อนที่เรือจะเอียงเกิน 30 องศา เพราะถ้าเกินกว่านั้น จะเป็นการยากต่อการทรงตัว แสดงว่าการ Training ในเรื่องของการปลอดภัย หรือการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าอาจจะน้อยเกินไปทำให้การตัดสินใจผิดพลาด คือปรารถนาดี แต่ประเมินสถานการณ์ผิดไป
ประเด็นสุดท้ายที่ได้ดูจากข่าวเมื่อคืน คือ ที่จริงมีเรือยางที่ใช้ในยามฉุกเฉินอยู่หลายลำ แต่นำมาใข้แค่ลำเดียว แถมผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดรอดชีวิตทั้งหมด ไม่ได้ช่วยเหลือผู้โดยสารเป็นลำดับแรก จึงเป็นที่น่าเสียดาย เพราะที่จริงแล้ว หากผู้ปฎิบัติงานได้รับการ Training อย่างดี มีความเชี่ยวชาญ เข้าใจในหลักความปลอดภัย (safety) และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ความเสียหายน่าจะน้อยกว่านี้เป็นแน่
เรือล่มที่เกาหลีใต้ เมื่อนำมามาเทียบเคียบกับด้านอุตสาหกรรมของเราบ้าง ถ้าจำกันได้ทุกปีเราจะต้องมีซ้อมดับเพลิง ซ้อมหนีไฟกันทุกปี แต่พวกเรามันจะสนุกสนานกันระหว่างซ้อม เพราะมันคือเหตุการณ์จำลอง หากเราลองสมมติว่าสักวันเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงเราคงยิ้มไม่ออกเป็นแน่ ดังนั้นปีนี้ตั้งใจซ้อมกันหน่อยนะคะ เพราะถึงแม้เราอาจจะไม่พบบทเรียนจากที่ทำงาน แต่การซักซ้อทอยู่เป็นนิจยอ่มทำให้เราเข้าใจหลักการความปลอดภัย (safety) ตระหนักและรู้หน้าที่ตนเองเป็นอย่างดีว่า่ในยามคับขัน เมื่อมีภัยมาถึงจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะปลอดภัยทั้งตนเองและเพื่อนร่วมงาน
เห็นกันแล้วใช่มั้ยคะว้่า ระบบความปลอดภัยสำคัญขนาดไหน ยิ่งถ้าใครเป็น จป ก็ยิ่งต้องตระหนักกันให้มากเลยล่ะค่ะ และจากจากเหตุการณ์อยากให้เพื่อน ๆ ในวงการอุตสาหกรรมตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพราะถ้ามันไม่เกิดก็ไม่เป็นไร แต่เกิดเมื่อไร อะไรก็ชดเชยไม่ได้
เครดิต : Youtube
Update 25 เมษายน
ข้อมูลเพิ่มเติมจากข่าวเหตุการณ์ครั้งคือการต่อเติมเรือเกินกว่าที่ขออนุญาตไว้ และยังมีเรื่องของการใช้เรือเกินกว่าที่ควรจะเป็นคือ 15 ปี แต่ดูเหมือนจะใช้ไปแล้ว 18 ปี นี่ก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุ เพราะใช้งานเกินกำลัง และเกินอายุที่ควรจะใช้งานได้ ท้้งสองเหตุนี้เป็นเรื่องของการไม่ได้รักษามาตรฐานในการทำงาน และหลักของความปลอดภัย ได้แต่ฝากย้ำเตือนกันนะคะ บางเรื่องอาจจะทำให้ธุรกิจเรามีกำไรมากขึ้นบ้าง แต่จะคุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาหรือเปล่าต้องลองประเมินดู โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต่อรองไม่ได้เลยตามหลักการของ safety เรื่่องราวคราวนี้จึงควรถอดออกมาเป็นบทเรียน เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น อย่าแค่ให้ผ่านพ้นไปเป็นไฟไหม้ฟาง