Home Purchasing Inside Cost breakdown คืออะไร

Cost breakdown คืออะไร

This article is in

0 60910

Cost Breakdown คืออะไร คำว่า cost breakdown อาจจะใช้กันเฉพาะทางในแวดวงจัดซื้อ การตลาด หรืออุตสาหกรรม และถึงแม้จะอยู่ในวงการอุตสาหกรรม cost breakdown ก็อาจจะยังไม่ได้ใช้หรือพบเห็นคำนี้มากนัก แต่หากเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ หรืออุตสาหกรรมชั้นน้ำ เช่น ยานยนต์ โดยเฉพาะจัดซื้อหรือฝ่ายการตลาด ควรจะต้องรู้จักและเข้าใจให้ถ่องแท้กันทีเดียวละค่ะ วันนี้เราจะมามองคำนี้กันในสองมิตินะคะ

Cost breakdown ในมุมของนักจัดซื้อ 

เพื่อน ๆ ลองย้อนกลับไปดูรูปด้านบนนะคะ ให้สังเกตว่า ในรูปได้แยกแยะองค์ประกอบของโทรศัพท์ออกมาเป็นส่วน ๆ  รูปนี้กำลังสื่อให้เห็นว่าก่อนที่จะมาเป็นองค์ประกอบแต่ละชิ้นนั้น จะประกอบไปได้ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่ากระบวนการผลิต การขนส่ง และค่าบริหารจัดการ เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดแต่ละชิ้นงานขึ้นมา โดยแต่ละชิ้นงานก็อาจจะผ่านกระบวนการขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน ต้นทุนแต่ละชิ้นจึงแตกต่างกัน และเมื่่อนำทุกชิ้นมารวมกันจึงกลายเป็นโทรศัพท์ 1 เครื่่อง หรือคืองานสำเร็จรูป (Finish goods) นั่นเองค่ะ

นักจัดซื้อนำไปใช้ประโยชน์อะไรกัน?

นักจัดซื้อต้องการรู้ประมาณต้นทุนของแต่ละชิ้น หรือ cost breakdown เพื่่อต้องการเปรียบเทียบต้นทุนของ supplier แต่ละราย เพื่อต่อยอดการวิเคราะห์ต้นทุนรวมของสินค้าที่ต้องการซื้อต่อไปนั่นเองค่ะ  แต่หากลักษณะสินค้าเป็นแบบอื่น supplier ก็อาจจะทำ cost breakdown โดยการแสดงต้นทุนทาง วัตถุดิบ (Raw material), กระบวนการผลิต (production process), การขนส่ง (Transport/Logistic), ค่าบริหารจัดการ (Overhead/management cost) ตามหลักการประมาณนี้ค่ะ

ทีนี้เรามีทำความเข้าใจ Cost breakdown ในมุมของนักขายกันบ้างค่ะ

นักจัดซื้อก็จะอยากรู้ต้นทุนให้มากที่สุด ลึกที่สุด เพื่อซื้อของได้ถูกที่สุด แน่นอนค่ะนักขายก็ต้องซ่อนให้ได้มากที่สุด ไม่ได้บอกว่านักขายไม่ดีนะคะ โดยธรรมชาติก็จะบอกในระดับหนึ่ง แต่หากบอกหมดก็คงไม่ได้ ในระยะยาวเมื่อถึงทางตันของต้นทุนก็อาจจะเสียธุรกิจไปในที่สุด ดังนั้นการวางกลยุทธ์เรื่อง cost breakdown จึงเป็นเรื่องสำคัญ ประเด็นไหนเสี่ยงต้องมองให้ขาด หรือเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้บ้าง ก่อนที่จะะไม่เหลืออะไรเลยหากนำเสนอนั้นขาดข้อมูลหรือการมองให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงาน Mass production เพราะหากนำเสนอพลาดแต่ได้งานก็หมายความว่าจะขาดทุนมหาศาล ไม่ใช่กำไรอย่างที่คาดหวังกันไว้ล่ะค่ะ

ที่ย้ำประเด็นนี้เพราะ cost breakdown ไม่ใช่เพียงแต่การนำเสนอเรื่องต้นทุนเพื่อการแข่งขันในการนำเสนอ project แต่กำลังจะเป็นตัววัดชะตาขององค์กรกันในบางกรณีกันเลยทีเดียว เนื่องจากบางงานอาจจะกลายเป็นกรณีที่ทำงานแบบหวานอมขมกลืนขาดทุนจนกว่าจะจบ project   ส่วนนักจัดซื้อเองการได้มาซึ่ง cost breakdown เป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพ เพียงแต่อาจจะต้องเปิดกว้างและเข้าใจเรื่องการทำธุรกิจด้วยเช่นกัน เพื่อให้คู่ค้าสามารถอยู่รอดและผลิตสินค้ามีคุณภาพได้แบบยั่งยืนนั่นเองค่ะ

NO COMMENTS

Leave a Reply