TPP คืออะไร
TPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ระยะนี้เราคงได้ยินคำนี้กันบ่อย ๆ และเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่า ไทยควรจะเข้าร่วม TPP หรือไม่ เลยจะพามารู้จักกันว่า TPP คืออะไรกันค่ะ
TPP เป็นความตกลงการค้าเสรีกรอบพหุภาคีที่มีมาตรฐานสูง วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า การปฏิรูป บริการและการลงทุน การสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินแห่งปัญญา การจัดซื้อโดยรัฐ มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม
สมาชิกเดิม ในปี 2005 ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และบรูไน หรือที่เรียกว่า The Pacific -4 (P4)
สมาชิกใหม่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู เวียดนาม และมาเลเซีย
สรุปภาพรวมของ TPP ให้เข้าใจกันง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ
- มีเป้าหมายที่จะเปิดเสรีการลงทุนระหว่างกัน
- การส่งเสริมความร่วมมือในการจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
- ประเทศที่ตู่ต่างภูมิภาคกัน มีโอกาสได้เปิดตลาดใหม่ ๆ ในเงื่อนไขและสิทธิพิเศษทางภาษีมากขึ้น จึงได้เปรียบประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วม TPP
- สหรัฐใช้ TPP เป็นเครื่องมือถ่วงดุลอำนาจกับจีน เนื่องจากปัจจุบันจีนแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ลดบทบาทสหรัฐ และเสียพื้นที่ทางการค้า การเพิ่มสิทธิพิเศษเหล่าในกลุ่ม TPP เป็นการจูงใจคู่ค้าให้หันไปค้าขายกันในกลุ่มมากขึ้น จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการปัญหาเศรษฐกิจ และดึงศูนย์อำนาจให้กลับมาอีกครั้งโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย
- หาก TPP ประสบความสำเร็จด้วยการเพิ่มสมาชิกจากแถบเอเซีย หรือจากสมาชิกของ AEC จะมีความไปได้สูงที่ AEC หรือกลุ่มอื่น ๆในเอเซียจะถูกลดบทบาทลงอย่างแน่นอน
- สำหรับไทย ยังไม่ได้เข้าร่วม เพราะยังขาดความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน และรวมถึงประเด็นด้านอื่น ๆ ด้วย
อาจจะมีบางคนสงสัยว่าแล้ว TPP เกี่ยวกับงานจัดซื้อ อุตสาหกรรม หรือธุรกิจอย่างไร ต้องบอกว่าสำคัญมาก เพราะประเทศที่เข้า TPP ไปแล้วได้เปรียบเราอย่างมากในเรื่องส่งออก เพราะได้สิทธิพิเศษทางภาษี จึงได้เปรียบเรื่องต้นทุนสินค้า อีกประเด็นคือเราต้องรู้ว่าประเทศไทยเองอยู่ในกลุ่มไหนบ้าง เพื่อจะวางกลยุทธ์ในการสั่งซื้อสินค้าให้เหมาะสมกับสิทธิทางการค้าที่เรามี หรือจะส่งสินค้าไปขายที่ไหนเพื่อจะได้สิทธิเหล่านี้ เรื่องง่าย ๆถ้าไม่รู้ก็เสียสิทธิ เสียโอกาสทางธุรกิจค่ะ แต่ถ้ารู้ก็เพิ่มกำไรง่าย ๆ กันเลยค่ะ
เครดิต: FTIPC